คำอธิบายรายวิชา

ศ๒๓๑๐๑  ทัศนศิลป์                                                                    กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓     ภาคเรียนที่  ๑         เวลาเรียน  ๒๐  ชั่วโมง                   จำนวน   ๐.๕   หน่วยกิต

 

ระบุและบรรยายสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ที่เลือกมา  โดยใช้ความรู้เรื่อง  ทัศนธาตุ  และหลักการออกแบบ  เทคนิค  วิธีการของศิลปินและของตนเองในการสร้างงานทัศนศิลป์  ฝึกวิเคราะห์และอภิปรายรูปแบบ  เนื้อหา  วิธีการใช้ทัศนธาตุ  หลักการออกแบบและคุณค่าในการสร้างงานทัศนศิลป์ของตนเอง
และผู้อื่น  มีทักษะในการสร้างงานทัศนศิลป์ทั้งไทยและสากลอย่างน้อย  ๓  ประเภท  สามารถผสมผสานวัสดุต่างๆ  ในการสร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้หลักการออกแบบ  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์  ทั้ง  ๒  มิติ  และ  ๓  มิติ  เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการให้เป็นเรื่องราว  เพื่อบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ  โดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย  ระบุอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานทัศนศิลป์และเลือกงานทัศนศิลป์  โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นอย่างเหมาะสมและนำไปจัดนิทรรศการ

โดยให้ผู้เรียนฝึกฝนการใช้ทัศนธาตุและหลักการออกแบบ  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์  เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการ

เห็นคุณค่าเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมทั้งไทยและสากลในแต่ละยุคสมัย

ตัวชี้วัด

ศ ๑.๑ ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔, ม.๓/๕, ม.๓/๖, ม.๓/๗, ม.๓/๘, ม.๓/๙, ม.๓/๑๐,
ม.๓/๑๑

ศ ๑.๒ ม.๓/๑, ม.๓/๒

รวมทั้งหมด  ๑๓  ตัวชี้วัด

 

 


รายวิชาดนตรี 4  รหัสวิชา 31101  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  สอนโดย นายชัชรินทร์ชัย เกาะน้ำใส

คำอธิบายรายวิชา

ศ22103 รายวิชานาฏศิลป์                                                                  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1                                                    เวลา 20 ชั่วโมง 0.5 หน่วยกิต

 

ศึกษาความรู้โดยการ อธิบายการบูรณาการศิลปะแขนงอื่นๆ กับการแสดง  สร้างสรรค์การแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์และการละคร  วิเคราะห์การแสดงของตนเองและผู้อื่น โดยใช้นาฏศัพท์หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสม  เสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงการแสดง  เชื่อมโยงความรู้ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ  เปรียบเทียบลักษณะเฉพาะของการแสดงนาฏศิลป์จากวัฒนธรรมต่างๆ ทักษะการแสดงของท้องถิ่น ระบุการแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย ละครพื้นบ้าน หรือมหรสพอื่นที่เคยนิยมกันในอดีต  อธิบายอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อเนื้อหาของละคร

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านการใฝ่เรียนรู้ การมุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ มีวินัย รักความเป็นไทยและการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

              

รหัสตัวชี้วัด

ศ 3.1     ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5

ศ 3.2    ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3

รวมทั้งหมด   8  ตัวชี้วัด