คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

21101  คณิตศาสตร์พื้นฐาน 1                       กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่ 1          เวลา  8ชั่วโมง        จำนวน  2.0  หน่วยกิต

            ศึกษา  ฝึกทักษะ/กระบวนการ ในสาระ   

            จำนวนตรรกยะ  จำนวนเต็ม  สมบัติของจำนวนเต็ม ทศนิยมและ เศษส่วนจำนวนตรรกยะและสมบัติของจำนวนตรรกยะ  เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก  การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็ม  จำนวนตรรกยะและเลขยกกำลังไปใช้ในการแก้ปัญหา 

            การสร้างทางเรขาคณิต การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต  การสร้างรูปเรขาคณิตสองมิติ  โดยใช้การสร้างรูปเรขาคณิต การนำความรู้เกี่ยวกับการสร้าง  พื้นฐานทางเรขาคณิตไปใช้ในชีวิตจริง

          มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต  หน้าตัดของรูปเรขาคณิต  สามมิติ  ภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า   ด้านข้าง  ด้านบน  ของรูป  เรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์

            โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยการปฏิบัติจริง  ทดลอง  สรุป  รายงาน  เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และนำประสบการด้านความรู้  ความคิดทักษะกระบวนการที่ได้นำไปใช้เรียนรู้สิ่งต่างๆ  และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาคุณภาพชีวิต  ท้องถิ่น  ประเทศชาติ สู่สังคมอาเซียนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์  สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ  มีความรอบคอบ  มีความรับผิดชอบ  มีวิจารณญาณ  และมีความเชื่อมั่นในตนเอง  วัดผลและประเมินผล  ใช้วิธีที่หลากหลาย ตามสภาพความเป็นจริงให้สอดคล้องกับเนื้อหา และทักษะที่ต้องการวัดผลประเมินผล

 

รหัสตัวชี้วัด

            1.1.1   เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจํานวนตรรกยะและใช้สมบัติของ

จํานวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  และปัญหาในชีวิตจริง

            1.1.2   เข้าใจและใช้สมบัติของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวกในการ

แก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

          2.1.1 ใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือ เช่นวงเวียนและสันตรงรวมทั้งโปรแกรม  The geometer's sketchpad หรือโปรแกรมเรขาคณิตพลวัตอื่นๆเพื่อสร้างรูปเรขาคณิตตลอดจนนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างนี้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง

            ค 2.2.2   เข้าใจและใช้ความรู้ทางเรขาคณิตในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ

 

รวมทั้งหมด  4  ตัวชี้วัด