คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ค23101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 80 ชั่วโมง จำนวน 2 หน่วยกิต
ศึกษา ฝึกทักษะ/กระบวนการ ในสาระ
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว การนำความรู้เกี่ยวกับการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวไปใช้ในการแก้ปัญหา
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสูงกว่าสอง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสูงกว่าสอง
สมการกำลังสองตัวแปรเดียว สมการกำลังสองตัวแปรเดียว การแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว การนำความรู้เกี่ยวกับการแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียวไปใช้ในการแก้ปัญหา
ความคล้าย รูปสามเหลี่ยมที่คล้ายกัน การนำความรู้เกี่ยวกับความคล้ายไปใช้ในการแก้ปัญหา
กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง การนำความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันกำลังสองไปใช้ในการแก้ปัญหา
สถิติ 3 ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลแผนภาพกล่อง การแปลความหมายของผลลัพธ์ การนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริง
โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยการปฏิบัติจริง ทดลอง
สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ
การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และนำประสบการด้านความรู้ ความคิดทักษะกระบวนการที่ได้นำไปใช้เรียนรู้สิ่งต่างๆ
และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาคุณภาพชีวิต
ท้องถิ่น ประเทศชาติ
สู่สังคมอาเซียนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ มีความรอบคอบ
มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง วัดผลและประเมินผล ใช้วิธีที่หลากหลาย
ตามสภาพความเป็นจริงให้สอดคล้องกับเนื้อหา และทักษะที่ต้องการวัดผลประเมินผล
รหัสตัวชี้วัด
ค 1.3.1 เข้าใจและใช้สมบัติของการไม่เท่ากันเพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหา โดยใช้อสมการ
เชิงเส้นตัวแปรเดียว
ค 1.2.1 เข้าใจและใช้การแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสองในการแก้ปัญหา
คณิตศาสตร์
ค 1.3.2 ประยุกต์ใช้สมการกำลังสองตัวแปรเดียวในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
ค 2.2.1 เข้าใจและใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่คล้ายกันในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
และปัญหาในชีวิตจริง
ค 1.2.2 เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันกำลังสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
ค 3.1.1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพ
กล่องและแปลความหมายผลลัพธ์รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริงโดยใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสม
รวมทั้งหมด 6 ตัวชี้วัด
- อาจารย์: ครูจงรัก โต๊ะนาค